ธันวานี้ฝุ่น PM 2.5 มาแน่ หา ‘เครื่องฟอกอากาศ’ มารอได้เลย
Share: facebook_share line_share twitter_share messenger_share

บทความ ธันวานี้ฝุ่น PM 2.5 มาแน่ หา ‘เครื่องฟอกอากาศ’ มารอได้เลย


หนาวนี้มาแน่ แต่ไม่ใช่หมอกกับอากาศเย็นเป็นฝุ่น PM 2.5 ต่างหาก กระทรวงสาธารณสุขออกมาประกาศเตือนรับมือเฝ้าระวังสุขภาพที่จะเพิ่มสูงขึ้นในเดือนธันวาคม เตรียมหา เครื่องฟอกอากาศ ( Air Purifier ) รอกันได้เลย

 

     กระทรวงสาธารณสุข ประชุมเตรียมความพร้อมรับมือและติดตามเฝ้าระวังผลกระทบด้านสุขภาพจากปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ที่จะสูงขึ้นในช่วงฤดูหนาวหรือช่วงเดือนธันวาคมของทุกปี โดยได้มอบข้อสั่งการ 8 ข้อ ได้แก่

 

1. ให้ทุกพื้นที่เตรียมการรับมือและเฝ้าระวังสถานการณ์ประเมินความเสี่ยง แจ้งเตือนประชาชนและให้คำแนะนำในการปฏิบัติตนทุกวัน

2. ประชาสัมพันธ์สร้างความตระหนักในการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพ

3. เตรียมความพร้อมดูแลกลุ่มเสี่ยง ให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและสมัครประจำหมู่บ้าน (อสม.) ให้คำแนะนำกับกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ ได้แก่ ผู้ป่วยโรคหอบหืด ผู้สูงอายุ เด็ก และผู้ป่วยติดเตียง

4. สถานบริการทุกแห่งเตรียมความพร้อม น้ำ ไฟสำรอง ยา เวชภัณฑ์ อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล และพร้อมเปิดคลินิกมลพิษ เพื่อรักษา ให้คำปรึกษาแก่ประชาชน และเตรียมห้องปลอดฝุ่นในสถานพยาบาลทุกระดับ

5. เฝ้าระวังผู้ป่วยนอกที่มารับบริการในกลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจ ระบบหัวใจและหลอดเลือด ผิวหนัง ระบบตา และอื่นๆ รายงานส่วนกลางทุกสัปดาห์

6. หากค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 มีปริมาณมากกว่า 75 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร เกิน 3 วัน ให้จังหวัดพิจารณาเปิดศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข (Public Health Emergency Operation Center : PHEOC)

7. ใช้กลไกคณะกรรมการสาธารณสุขจังหวัดในการเตรียมการจัดการปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

8. จัดกิจกรรมองค์กรปลอดฝุ่นเพื่อเป็นต้นแบบขององค์กรลดฝุ่นละออง

 

วิธีเตรียมตัวรับมือฝุ่น PM 2.5 ด้วยตัวเอง

1. สวมใส่หน้ากาก N95

     หากต้องออกจากบ้านหรือทำงานกลางแจ้งในพื้นที่ที่มีค่าฝุ่น PM 2.5 เกินมาตรฐาน แนะนำให้สวมใส่หน้ากาก N95 ทุกครั้ง แต่หากใครหาซื้อหน้ากาก N95 ไม่ได้ สามารถใช้หน้ากากอนามัยแล้วซ้อนทับด้วยกระดาษทิชชู่อีกชั้นก็สามารถป้องกันฝุ่น PM 2.5 ได้ในระดับหนึ่ง

 

2. งดกิจกรรมกลางแจ้งชั่วคราว

     ในช่วงนี้หากพื้นที่ไหนที่มีฝุ่น ​PM 2.5 เริ่มกลับมาเกินค่ามาตรฐานอีกครั้ง ควรงดกิจกรรมหรือการออกกำลังกลางแจ้งไปก่อนชั่วคราว เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจจากฝุ่น ​PM 2.5

 

3. ติดตั้ง เครื่องฟอกอากาศ ( Air Purifier )

     สำหรับใครที่มีงบประมาณเพียงพอ ขอแนะนำให้ติดตั้ง เครื่องฟอกอากาศ ( Air Purifier ) ภายในบ้าน เพื่อลดปริมาณฝุ่น PM 2.5 ที่อาจฟุ้งกระจายจากภายนอกเข้ามา ช่วยทำให้อากาศภายในบริเวณที่ติดตั้งสะอาดขึ้น บริสุทธิ์ขึ้น ซึ่งในตอนนี้ เครื่องฟอกอากาศ ( Air Purifier ) มีหลายราคาให้เลือกซื้อเลือกหา มีตั้งแต่ราคาหลักพันจนถึงหลักหมื่น รับรองว่าการลงทุนซื้อ เครื่องฟอกอากาศ ( Air Purifier ) ในช่วงนี้คุ้มค่ากับการลงทุนเพื่อคืนอากาศบริสุทธิ์ให้กับคุณได้อย่างแน่นอน

 

4. หมั่นติดตามสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5

     ควรหมั่นติดตามอัปเดตข่าวสารเกี่ยวกับสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ในแต่ละพื้นที่อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งสามารถเช็คค่าฝุ่น PM 2.5 ได้ง่ายๆ ผ่านแอปพลิเคชั่นโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย จะมีบอกข้อมูลเกี่ยวค่าคุณภาพอากาศว่าพื้นที่ที่เราอยู่ มีคุณภาพอากาศในระดับใด

 

สิ่งที่ควรพิจาณาหลักๆ ก่อนเลือกซื้อ เครื่องฟอกอากาศ ( Air Purifier )

1. ความละเอียดของฟิลเตอร์ หรือ ไส้กรองอากาศ : เป็นหัวใจสำคัญที่สุดของ เครื่องฟอกอากาศ ( Air Purifier ) ทุกเครื่อง ซึ่งจะทำการฟอกอากาศด้วยการนำอากาศเสียวิ่งผ่านไส้กรองแล้วดักจับฝุ่น ดักจับแบคทีเรีย เอาไว้ให้ติดกับเนื้อฟิลเตอร์ เพื่อให้ได้อากาศดีออกมา

 

2. พิจารณาขนาดของห้อง : เพื่อพิจารณาความสามารถในการฟอกอากาศในด้านปริมาณ ซึ่งเกือบทุกแบรนด์จะบอกไว้อยู่แล้วว่า เครื่องฟอกอากาศนี้จะสามารถใช้ได้กับห้องขนาดเท่าไหร่ เพื่อให้ง่ายต่อการตัดสินใจ

 

3. ค่า CADR : อัตราการสร้างอากาศบริสุทธิ์ วัดค่าประสิทธิภาพของเครื่องฟอกอากาศ โดยคำนึงถึงขนาดห้องและปริมาตรของอากาศบริสุทธิ์ที่ถูกผลิตออกมาต่อนาที ยิ่ง CADR มีค่ามาก เครื่องฟอกอากาศก็ยิ่งดีขึ้นเท่านั้น

 

     ช่วงที่ฝุ่น ​​PM 2.5 เกินมาตรฐาน หากบ้านไหนมีสมาชิกในครอบครัวเป็นเด็กเล็กและผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ รวมถึงคนมีโรคประจำตัวเกี่ยวกับทางเดินหายใจ ควรดูแลอย่างใกล้ชิด และควรหา เครื่องฟอกอากาศ ( Air Purifier ) ติดบ้านไว้สักเครื่อง เพื่อช่วยกรองอากาศให้สุขภาพของคุณและคนที่คุณรักดีขึ้น

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก workpointnews

 

อ่านบทความเพิ่มเติม

- เครื่องฟอกอากาศ จำเป็นแค่ไหนในปัจจุบัน