มลพิษทางอากาศเข้าถึงเส้นเลือด ส่งผลร้ายต่อหัวใจได้
Share: facebook_share line_share twitter_share messenger_share

บทความ มลพิษทางอากาศเข้าถึงเส้นเลือด ส่งผลร้ายต่อหัวใจได้


ฝุ่น PM 2.5 ไม่เพียงแต่แพร่กระจายเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ แต่ยังส่งผลเสียต่อระบบการทำงานของหัวใจได้แรงถึงขั้นหัวใจล้มเหลว และหัวใจวาย เพราะฉะนั้นสิ่งที่ต้องตระหนักและระมัดระวัง เพื่อให้หัวใจแข็งแรง

 

ฝุ่น PM 2.5 กับหัวใจ

 

มลพิษทางอากาศ (Air Pollution) หรือฝุ่นในอากาศเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหัวใจได้ ข้อมูลล่าสุดจากองค์การอนามัยโลก (World Health Organization - WHO) ระบุว่า มากกว่า 20% ของการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดมีสาเหตุมาจากมลพิษทางอากาศ และทุกๆ ปีมีมากกว่า 3 ล้านคนที่เสียชีวิต

โดยองค์การอนามัยโลกระบุว่า หากในอากาศมีฝุ่น PM 2.5 เกิน 10 - 25 ไมโครกรัมใน 1 ลูกบาศก์เมตรแล้วร่างกายได้รับเข้าไปติดต่อกันเป็นระยะเวลานานจะทำให้เกิดการอักเสบ ส่งผลเสียต่อการแข็งตัวของเลือด การทำงานของเซลล์เยื่อบุหลอดเลือด ทำให้เกิดโรคเรื้อรัง ทั้งโรคหัวใจ โรคปอด และโรคมะเร็ง

ผลกระทบของฝุ่น PM 2.5 กับหัวใจ หากเกิดขึ้นแบบเฉียบพลันจะส่งผลให้เส้นเลือดเปราะ เส้นเลือดแตก และในผู้ป่วยโรคหัวใจจะเข้าไปกระตุ้นให้โรคที่เป็นอยู่รุนแรงขึ้น ส่วนในระยะยาวผลกระทบจะเกิดการเปลี่ยนแปลงระดับเซลล์ กระตุ้นการอักเสบทั่วร่างกาย หลอดเลือดหนาตัวมากขึ้น ทำให้กล้ามเนื้อผนังหลอดเลือดเติบโตขึ้น มีอันตรายต่อร่างกายเทียบเท่ากับคนที่สูบบุหรี่ ในอนาคตคาดว่าจะเพิ่มเป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงหลักที่ทำให้เกิดโรคหัวใจ

 

ฝุ่นทำร้ายหัวใจ

 

ข้อมูลจากสมาคมโรคหลอดเลือดหัวใจแห่งยุโรป (European Society of Cardiology - ESC) ระบุว่า มลพิษทางอากาศ (Air Pollution) ทำให้จำนวนผู้เสียชีวิตในยุโรปเพิ่มขึ้น มีอัตราผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นถึง 800,000 คนต่อปี

ด้วยวิธีการใหม่ของแบบจำลองผลกระทบที่หลากหลายของแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศภายนอกที่ส่งผลต่ออัตราการเสียชีวิต พบว่า 40 - 80% ของผู้เสียชีวิตเกิดจากโรคหลอดเลือดหัวใจ (CVD) เช่น หัวใจวายและหลอดเลือดสมอง นอกจากนี้นักวิจัยยังพบว่า มลพิษทางอากาศ ทำให้มีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นประมาณ 8.8 ล้านรายทั่วโลกมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ 4.5 ล้านคน นั่นหมายความว่าในแต่ละปีมลพิษทางอากาศเป็นสาเหตุการเสียชีวิตมากกว่าการสูบบุหรี่ ซึ่งบุหรี่สามารถเลิกสูบได้ แต่มลพิษทางอากาศไม่สามารถเลี่ยงได้

มลพิษทางอากาศมีความสัมพันธ์กับโรคหัวใจและหลอดเลือด รวมทั้งโรคระบบทางเดินหายใจ เพราะเป็นสาเหตุที่ทำให้หลอดเลือดเกิดความเสียหายและเกิดความเครียดเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง, เบาหวาน, โรคหลอดเลือดสมอง, หัวใจวาย และหัวใจล้มเหลวในอัตราที่สูงขึ้น

 

วิธีดูแลป้องกันฝุ่น PM 2.5

 

- หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้งในวันที่มีฝุ่น PM 2.5

- สวมหน้ากากหรือใช้ผ้าปิดจมูก

- ติดตามข่าวสารและปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างใกล้ชิด

- หากเกิดความผิดปกติกับร่างกายควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที

- ติดตั้งเครื่องฟอกอากาศ

 

เครื่องฟอกอากาศ ( Air Purifier ) สามารถกรองฝุ่นละออง PM2.5 ได้ โดยการนำเทคโนโลยี Electrostatic Adsorption Pressure ซึ่งเป็นระบบกรองอากาศ คุณภาพสูง โดยใช้แผ่นกรองคาร์บอนเข้มข้น สามารถกรองฝุ่นที่มีอนุภาค ขนาดเล็ก 0.1 - 0.3 ไมครอน ที่ไม่สามารถมองด้วยตาเปล่าได้ ด้วยเหตุนี้ เครื่องฟอกอากาศ ( Air Purifier ) จึงเป็นอีกตัวเลือกที่ดีตัวเลือกหนึ่งในการที่จะทำให้คุณห่างไกลจากฝุ่นและโรคที่เกิดจากฝุ่นได้

 

เพราะฉะนั้นการป้องกันตัวเองคือสิ่งสำคัญที่สุด แม้ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหัวใจมีหลายข้อ แต่มลพิษทางอากาศคืออีกหนึ่งประเด็นสำคัญที่ไม่ควรละเลย หากมีอาการผิดปกติควรเข้ามาพบแพทย์ทันที และถ้ารู้ว่าตัวเองมีความเสี่ยงโรคหัวใจควรตรวจเช็คหัวใจเป็นประจำทุกปีกับแพทย์เฉพาะทางด้านหัวใจ

 

ด้วยความปรารถนาดีจาก เครื่องฟอกอากาศ ตราแมนเนเจอร์ (Air Purifier by ManNature)

 

 ขอขอบคุณข้อมูลจาก bangkokhospital

 

อ่านบทความอื่นเพิ่มเติม

เทคนิคเลือกเครื่องฟอกอากาศ 2020

ปัญหาเรื่องไร้ฝุ่นไม่ใช่ปัญหาเล็กๆ