มลพิษทางอากาศ อันตรายที่ป้องกันได้
Share: facebook_share line_share twitter_share messenger_share

บทความ มลพิษทางอากาศ อันตรายที่ป้องกันได้


มลพิษทางอากาศหนึ่งในปัญหาสิ่งแวดล้อมหลีกเลี่ยงได้ยาเป็นภัยต่อสุขภาพโดยเฉพาะผู้ที่ต้องอาศัยอยู่ในเมืองใหญ่หรือใกล้เขตอุตสาหกรรมทางที่ดีจึงควรเรียนรู้ถึงผลกระทบของมลพิษทางอากาศที่มีต่อสุขภาพและวิธีป้องกัน

 

เพื่อให้ปลอดภัยจากอันตรายที่มาพร้อมปัญหานี้

มลพิษทางอากาศ คือการปนเปื้อนของสารเคมี สารประกอบทางกายภาพ และสารทางชีววิทยาในสิ่งแวดล้อม จนก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของชั้นบรรยากาศ ส่วนใหญ่มักเกิดจากการเผาผลาญของเครื่องยนต์ ยานพาหนะ การทำอุตสาหกรรม หรือแม้แต่ไฟป่า โดยสารในมลพิษทางอากาศที่ส่งผลต่อสุขภาพของมนุษย์ ได้แก่ อนุภาคขนาดเล็กที่ถูกกำจัดไม่หมด ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ โอโซน ไนโตรเจนไดออกไซด์ และซัลเฟอร์ไดออกไซด์

มลพิษทางอากาศแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

 

มลพิษทางอากาศภายนอก เป็นมลพิษที่เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อมภายนอกอาคาร

อนุภาคที่เกิดจากการเผาไหม้ของพลังงานเชื้อเพลิง เช่น น้ำมัน ถ่านหิน เป็นต้น

ก๊าซพิษ ได้แก่ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ไนโตรเจนไดออกไซด์ คาร์บอนมอนอกไซด์ หรือไอระเหยจากสารเคมีต่าง ๆ

โอโซนระดับพื้นดิน ซึ่งเป็นโอโซนชนิดที่ไม่ดีต่อสุขภาพ และเป็นส่วนประกอบสำคัญของหมอกควันที่เป็นพิษในบริเวณตัวเมือง

ควันจากยาสูบ ซึ่งประกอบไปด้วยสารเคมีที่เป็นพิษและสารก่อความระคายเคือง ส่งผลให้ผู้สูดดมเสี่ยงติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจและโรคหอบหืด

 

มลพิษทางอากาศภายใน เป็นมลพิษที่เกิดขึ้นภายในอาคารหรือที่พักอาศัย

อนุภาคจากการเผาไหม้ของก๊าซหุงต้ม เช่น คาร์บอนมอนอกไซด์ เรดอน เป็นต้น

สารเคมีที่ใช้ภายในบ้าน

สารเคมีที่ใช้ในการก่อสร้าง เช่น แร่ใยหิน ฟอร์มาดิไฮด์ ตะกั่ว เป็นต้น

สารก่อภูมิแพ้ต่าง ๆ จากภายในและนอกอาคาร เช่น ฝุ่น สารก่อภูมิแพ้จากแมลงสาบและหนู เป็นต้น

ควันจากยาสูบ

ราและเกสรดอกไม้

 

มลพิษทางอากาศส่งผลอย่างไรต่อสุขภาพ ?

มลพิษทางอากาศอาจส่งผลให้เกิดการระคายเคืองตามอวัยวะต่าง ๆ เช่น ตา คอ และปอด โดยหากอยู่ในพื้นที่ที่มีมลพิษทางอากาศสูงอาจมีอาการแสบตา ไอ และแน่นหน้าอกได้

อย่างไรก็ตาม อาการที่เกิดขึ้นจากมลพิษทางอากาศของแต่ละคนอาจแสดงออกแตกต่างกัน เด็ก ๆ มักรู้สึกถึงความผิดปกติจากมลพิษทางอากาศได้ช้ากว่าผู้ใหญ่ แต่จะมีอาการป่วยที่รุนแรงมากกว่า เช่น หลอดลมอักเสบ และอาการปวดหู ผู้ใหญ่บางรายอาจมีอาการรุนแรงหรือไม่มีอาการใด ๆ แสดงให้เห็น ส่วนผู้ป่วยโรคหัวใจ โรคปอด โรคหอบหืด หรือโรคถุงลมโป่งพอง อาจไวต่อการสัมผัสกับมลพิษทางอากาศ รวมทั้งมีอาการได้ง่ายและรุนแรงกว่าคนทั่วไป

 

วิธีป้องกันมลพิษทางอากาศ

การป้องกันมีหลากหลายวิธีมาก วันนี้เราจะน้ำเสนอวิธีป้องกันมลภาวะอากาศเสียได้ถ้าทุกคนช่วยกันทำ

1 การปลูกต้นไม้ ไม่ใช่เราจะปลูกอะไรก็ได้นะครับวันนี้เสนอ ต้นไม้ฟอกอากาศ

 

ลิ้นมังกร เป็นไม้ประดับมงคลยอดนิยม ซึ่งคนไทยนิยมปลูกกันมาก พืชชนิดนี้ปลูกง่าย ทนทาน ไม่ต้องการน้ำมาก ขยายพันธุ์โดยการตอนกิ่งหรือปักชำ และยังช่วยดูดสารพิษเบนซินในอากาศช่วยฟอกอากาศได้ดีอีกด้วย

 

เยอบีร่า เป็นพืชที่ชอบแสงแดดจัด ต้องการน้ำและความชื้นในระดับปานกลาง จึงควรให้น้ำอย่างเพียงพอ ที่สำคัญนอกเหนือจากความสวยจากดอกสีแดง ส้ม เหลือง ม่วง ชมพู แล้ว เยอบีร่ายังมีประสิทธิภาพสูงในการดูดสารพิษภายในอาคารได้อย่างดีเยี่ยมอีกด้วย

 

จั๋ง จั๋ง เป็นพืชในตระกูลปาล์ม มีถิ่นกำเนิดจากจีนและญี่ปุ่น เป็นพืชที่ต้องการแสงแดดพอสมควร ไม่ต้องการน้ำมาก  ขยายพันธุ์โดยการใช้หน่ออ่อนไปปลูก ซึ่งมีคุณสมบัติดูดซับสารพิษในอากาศได้ดีมาก

 

บอสตันเฟิร์น เป็นพืชที่ต้องการน้ำมาก อยู่ในที่แสงแดดไม่จัดมาก นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับทั้งในและนอกอาคาร  สามารถดูดสารพิษได้มาก โดยเฉพาะสารจำพวกฟอร์มาดีไฮด์ และยังช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นในอากาศภายในอาคารได้เป็นอย่างดี

นอกจากนี้สิ่งอื่นๆ ก็มีหลากหลาย

 

ไม่ใช้รถที่มีควันดำ – เจอรถควันดำให้รีบแจ้ง

ควันดำเกิดจากการที่เครื่องยนต์เกิดการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ เป็นสาเหตุของฝุ่นควันขนาดเล็ก แม้ว่าจะมีกฎหมายเอาผิดรถยนต์ที่ปล่อยควันดำแล้ว ก็มีรถที่มีควันดำเกิดมาตรฐานวิ่งอยู่บนท้องถนน ซึ่งเราสามารถแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ที่

 

เลิกใช้รถรุ่นเก่า และรถดีเซล

รถยนต์เก่า ๆ ที่ใช้มานาน ปฏิเสธไม่ได้ว่ามีปัญหาก็บ่อย และยังเป็นต้นเหตุของการปล่อยมลพิษทางอากาศอีกด้วยนะคะ ดังนั้นหากเรายอมเสียสละ ไม่ใช้รถรุ่นเก่า รวมทั้งหลีกเลี่ยงการใช้รถยนต์ดีเซล โดยอาจจะขับรถวันเว้นวัน ที่เหลือก็อาศัยรถสาธารณะ หรือทางเดียวกันติดรถไปด้วยกันแบบนี้ก็ช่วยลดมลพิษทางอากาศได้มาก

 

หลีกเลี่ยงการเผาไหม้ในที่โล่งแจ้ง-เผาพื้นที่เพื่อเตรียมทำการเกษตร

แม้ว่าการเผาทำลายวัตถุต่าง ๆ จะเป็นเรื่องที่จัดการง่ายดาย แต่สารเคมีที่มาจากการเผาไหม้นั้นมีโทษมากกว่า ไม่ว่าจะเป็นก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์, คาร์บอนไดออกไซด์, ไฮโดรเจนไซยาไนต์ ฯลฯ ซึ่งก๊าซบางตัวหากรับเข้าไปเกินขนาดในเวลาเพียง 30 นาที ก็อาจทำให้เสียชีวิตได้

 

งดสูบบุหรี่

อาจจะคิดว่าเป็นเรื่องเล็ก ๆ ที่คิดว่าควันจากบุหรี่มวนเดียว อาจไม่เป็นปัญหาสิ่งแวดล้อม แต่หากคนหลายคน จุดบุหรี่สูบทุกวัน วันละหลายล้านมวน ก็เกิดเป็นกลุ่มควันพิษ ซึ่งทุกครั้งที่มีการสูบบุหรี่ ควันพิษและสารพิษจำนวนมหาศาลจะลอยอยู่ในอากาศ และเป็นตัวการที่ก่อให้เกิดละอองสารเคมีขนาดเล็ก ๆ

 

ห้ามเผา โฟม-พลาสติก

ควันไฟที่เกิดขึ้นจากการเผาขยะประเภทโฟม จะทำให้เกิดการปล่อยก๊าซสไตรีน (Styrene) สามารถถูกดูดซึมผ่านผิวหนังและปอดได้ หากได้รับสารสไตรีนในระดับที่สูงจะทำอันตรายต่อตา และระยะยาวจะมีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้ปวดหัว อ่อนเพลีย อ่อนแอ และเกิดภาวะซึมเศร้า

 

ติดเครื่องฟอกอากาศ

การติดเครื่องฟอกอากาศก็จะเป็นอีกหนึ่งวิธีที่สามารถป้องกันหรือช่วยลดภาวะโลกอากาศเสียได้ การทำงานของเครื่องฟอกอากาศนั้น มีหน้าที่ทำให้อากาศดีขึ้นพร้อมทั้งกรองของเสียจากอากาศ ฝุ่นไร้ ต่างๆ อีกด้วย

 

การที่จะทำให้โลกเรา หรือบริเวณบ้านเรา มีอากาศที่ดีได้นั้นมีปัจจัยหลายๆ อย่างเราต้องต้องร่วมมือกันช่วย และลดการใช้พลาสติกหยุดการเผาไหม้ ให้มากที่สุด เท่านี้เราก็มีอากาศที่ดีมาสูดดมกันแล้ว โลกสวยด้วยมือเรา

 

ด้วยความปรารถนาดีจาก เครื่องฟอกอากาศ ตราแมนเนเจอร์ (Air Purifier by ManNature)

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก pobpad