ทั่วโลกเจอปัญหามลพิษ จัดการอย่างไร?
Share: facebook_share line_share twitter_share messenger_share

บทความ ทั่วโลกเจอปัญหามลพิษ จัดการอย่างไร?


มลพิษทางอากาศที่ต้องเผชิญในตอนนี้คือมลพิษฝุ่นขนาดจิ๋ว หรือ PM2.5 แม้ว่าที่ผ่านมามลพิษดังกล่าวอาจจะเบาบางลงแล้ว แต่เราก็ต้องป้องกันเพื่อไม่ให้มลพิษฝุ่นกลับมาทำร้ายเราอีก

 

หลายๆประเทศป้องกันการเกิดมลพิษนี้อย่างไร

1.กรุงปารีส ฝรั่งเศส

เมืองน้ำหอมแห่งนี้เลือกสนับสนุนให้ประชาชนใช้ระบบขนส่งสาธารณะให้มากขึ้น โดยไม่อนุญาตให้รถยนต์ส่วนตัววิ่งในย่านศูนย์กลางเมืองในช่วงสุดสัปดาห์ ห้ามใช้รถยนต์ในย่านฌ็องเซลิเซ่ 1 ครั้ง ต่อเดือน อีกทั้งยังสนับสนุนการใช้จักรยานโดยจัดทำโครงการยืมจักรยาน หรือเรียกกันว่า ธนาคารจักรยาน

 

2.กรุงนิวเดลี อินเดีย  

หลังจากสถิติมลพิษทางอากาศของอินเดียพุ่งสูงเท่าๆกับจีน รัฐบาลได้ออกนโยบายห้ามรถยนตร์ที่มีเครื่องยนต์ขนาดใหญ่และรถ SUV ที่มีเครื่องยนตร์แรงม้ามากกว่า 2000 ซีซี รวมทั้งบังคับให้รถแท็กซี่เครื่องยนต์ดีเซลหลายพันคันหยุดวิ่ง นอกจากนี้ยังทดลองนโยบายการให้รถยนต์เลือกหยุดวิ่งในวันคี่หรือวันคู่ และกระตุ้นให้ผู้คนใช้ขนส่งสาธารณะอย่างรถตู้อูเบอร์มากขึ้น

อย่างไรก็ดี รัฐบาลอินเดียยังไม่มีมาตรการการจัดการมลพิษทางอากาศกับภาคอุตสาหกรรม ทั้งการเผาทำลายซากผลผลิตจากเกษตรกรรม โรงงานอุตสาหกรรมและโรงไฟฟ้าถ่านหิน

 

3.เนเธอร์แลนด์

รัฐบาลของเนเธอแลนด์มีการเสนอนโยบายห้ามการขายรถยนต์ดีเซล และหากร่างนโยบายนี้ผ่านการอนุมัติก็จะมีผลบังคับใช้ภายในปีพ.ศ.2568 โดยการขายรถยนต์ที่ใช้น้ำมันถูกแทนที่ด้วยรถยนต์ไฟฟ้าอย่างไรก็ดี ร่างนโยบายนี้ยังคงอนุโลมให้ประชาชนที่มีรถยนต์ดีเซลอยู่ก่อนแล้วสามารถใช้รถต่อไปได้

 

4. เมืองไฟรบวร์ค (Freiburg) เยอรมนี

ไฟรบวร์ค มีทางปั่นจักรยานรวมแล้วมีระยะทางกว่า 500 กิโลเมตร มีรถรางและมีระบบขนส่งสาธารณะที่มีประสิทธิภาพและราคาถูก ทั้งนี้ในย่านชานเมืองบางแห่งยังห้ามไม่ให้ประชาชนจอดรถยนต์ใกล้ๆบ้าน ซึ่งทำให้เจ้าของรถต้องเสียเงินเช่าพื้นที่จอดรถกว่า 18,000 ยูโร หรือประมาณ 660,162 บาท

 

5.เมืองโคเปนเฮเกน เดนมาร์ก

โคเปนเฮเกนให้ความสำคัญกับการใช้จักรยานทดแทนรถยนต์ส่วนตัว แนวคิดของการใช้จักรยานนี้คือการคิดถึงมูลค่าของจักรยานเทียบกับรถยนต์ โดยการขี่จักรยาน 1 ไมล์ให้มูลค่ากับชุมชนประมาณ 0.42 ดอลล่า สหรัฐ ในขณะที่การขับรถยนต์ส่วนตัวเป็นระยะทาง 1 ไมล์ให้มูลค่ากับชุมชนประมาณ 0.20 ดอลล่าสหรัฐ นอกจากนี้เมืองส่วนใหญ่ในเดนมาร์กเริ่มทยอยหยุดใช้รถยนต์มาเป็นเวลากว่าสิบปีแล้วเพื่อทำตามนโยบายเมืองที่มุ่งจะเป็นเมือง Carbon Neutral หรือเมืองที่มีกิจกรรมการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเท่ากับ ศูนย์ภายในปี พ.ศ.2568

 

6.ออสโล (Oslo) นอร์เวย์  

เมืองออสโลมีแผนที่จะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงครึ่งหนึ่งภายในปี พ.ศ.2563 ที่จะถึงนี้โดยวางโซน “ปลอดรถคันใหญ่” และเริ่มทำทางจักรยานใหม่ที่มีระยะทางรวมกว่า 40 ไมล์ นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มค่าธรรมเนียมรถติดกับผู้ใช้รถยนต์ในชั่วโมงเร่งด่วนและลดพื้นที่ลานจอดรถหลายแห่ง

 

7.เกาหลีใต้

รัฐบาลชุด มุน แจอิน อนุมัติให้ปิดโรงไฟฟ้าถ่านหินในเกาหลีใต้ 8 แห่งชั่วคราวเพื่อลดมลพิษทางอากาศ โดยในปีที่ผ่านมารัฐบาลสั่งปิดโรงไฟฟ้าถ่านหินเหล่านี้เป็นเวลา 4 เดือนในช่วงฤดูใบไม้ผลิ และมีแผนการจะปิดโรงไฟฟ้าถ่านหินโรงเก่าถาวรภายในเดือนพฤษภาคมปี พ.ศ.2563 เพื่อลดมลพิษทางอากาศและทำตามข้อตกลงปารีส เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลง แม้ว่าในปัจจุบันโรงไฟฟ้าถ่านหินเหล่านี้ผลิตไฟฟ้าให้กับประเทศถึงร้อยละ 40 ก็ตาม

 

การรับมือและจัดการปัญหาทางมลพิษทางอากาศในระยะยาวของประเทศต่างๆเป็นตัวช่วยในการส่งเสริมการใช้ขนส่งสาธารณะเพื่อลดจำนวนรถยนต์ส่วนตัว การสนับสนุนการใช้จักยาน หรือ การวางแผนลดรถยนต์ส่วนตัวด้วยการห้ามขายรถยนต์ดีเซล จนถึงการสั่งปิดโรงไฟฟ้าถ่านหินเพื่อลดมลพิษทางอากาศเพื่อประโยชน์ของคนในประเทศและสุขภาพที่ดี

ด้วยความปรารถนาดีจาก เครื่องฟอกอากาศ ตราแมนเนเจอร์ (Air Purifier by ManNature)

  ขอขอบคุณข้อมูลจาก greenpeace