รับมืออย่างไรเมื่อไข้หวัดใหญ่ระบาด
Share: facebook_share line_share twitter_share messenger_share

บทความ รับมืออย่างไรเมื่อไข้หวัดใหญ่ระบาด


     องค์การอนามัยโลก (WHO) คาดการณ์ว่าภาระของโรคไข้หวัดใหญ่ทั่วโลกในปี พ.ศ. 2562-2573 ประชากรผู้ใหญ่ทั่วโลกจะป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ 5-10% ต่อปี และเด็กจะป่วย 20-30% ต่อปี ในแต่ละปีจะพบผู้ป่วยทั่วโลกกว่า 1,000 ล้านคน เป็นไข้หวัดใหญ่ชนิดรุนแรง 3-5 ล้านคน เสียชีวิต 2.9-6.5 แสนคนต่อปี

 

     สำหรับประเทศไทยปีนี้โรคไข้หวัดใหญ่ระบาดเร็วกว่าปกติ 2-3 เดือน โดยตั้งแต่เดือนมกราคม-เมษายนที่ผ่านมา พบผู้ป่วย 130 ราย เสียชีวิต 9 ราย ผู้ป่วยส่วนใหญ่อายุระหว่าง 7-9 ปี จำนวนของผู้ป่วยเพิ่มขึ้นถึง 3 เท่าเมื่อเทียบกับปี พ.ศ. 2561  

 

ผู้ป่วย 7 กลุ่มเสี่ยงประกอบด้วย

1) หญิงตั้งครรภ์ 4 เดือนขึ้นไป

2) เด็กเล็ก 6 เดือน-3 ปี

3) ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหอบหืด โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคไตวาย โรคมะเร็งระหว่างได้รับเคมีบำบัด และโรคเบาหวาน

4) ผู้สูงอายุ ที่อายุ 65 ปีขึ้นไป

5) ผู้พิการทางสมองที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้

6) โรคธาลัสซีเมีย ผู้ที่ภูมิคุ้มกันบกพร่อง รวมทั้งผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มีอาการ

7) โรคอ้วน (น้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไปหรือ BMI 35 ขึ้นไป)

 

คำแนะนำเพื่อป้องกันไข้หวัดใหญ่ดังนี้

- หมั่นล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือใช้แอลกอฮอล์เจลทำความสะอาดมือ ทั้งผู้ที่ป่วยและไม่ป่วย

- ไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น เช่น แก้วน้ำ หลอดดูดน้ำ ช้อนอาหาร ผ้าเช็ดมือ ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว เป็นต้น

- ไม่ควรคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีอาการไข้หวัด หรือถ้าจำเป็นควรปิดปาก จมูกด้วยหน้ากากอนามัย

- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เน้นพวกผัก ผลไม้ นม ไข่ กินอาหารปรุงสุกใหม่ๆ และใช้ช้อนกลาง

- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำสะอาดและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

- ควรหลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่มีผู้คนแออัด และอากาศถ่ายเทไม่ดีเป็นเวลานานโดยไม่จำเป็น

หรือใช้เครื่องฟอกอากาศ เพราะสามารถกำจัดฝุ่นละออง รวมถึงเชื้อโรคที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพได้

 

 

ด้วยความปรารถนาดีจาก เครื่องฟอกอากาศ ตราแมนเนเจอร์ (Air Purifier by ManNature)

 

 ขอขอบคุณข้อมูลจาก mgronline